หากย้อนไปตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในเรื่องฝีมือแรงงานตลอดมา โดยเริ่มตั้งแต่ที่มี พระราชบัญญัติ อันเกี่ยวกับแรงงาน ในเรื่องของการบริการจัดหางานของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในปี พ.ศ. 2475 ณ ตอนนั้นศูนย์ฝึกวิชาชีพยังเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ ที่สังกัดกับกระทรวงมหาดไทย แต่รัฐบาลยุคต่อมา ก็ได้ทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงทั้งพระราชบัญญัติ และพระราชกฤษฎีกา ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ด้านแรงงาน ให้เกิดการพัฒนาตลอดมาเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการถ่ายโอนแผนกจัดหางาน ไปยังกรมพาณิชย์ เนื่องจากมีเหตุผลว่า เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจมากกว่า
ต่อมาปี พ.ศ. 2484 เป็นยุคที่รัฐบาลมุ่งเน้นความสำคัญ คือต้องการให้ประชาชนให้มีอาชีพ มีงานทำที่สามารถสร้างรายได้ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้เกิดการโอนงานอีกครั้ง ไปยังสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ในปี พ. ศ. 2496 -2505 ตลอดช่วงเวลานี้ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานด้านแรงงานตลอดมา อีกทั้งเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการฝึกอาชีพให้แก่ประชาชน ในช่วงแรกๆของการก่อตั้ง ยังเป็นเพียงแผนกอาชีวศึกษาเท่านั้น แต่สุดท้ายก็ได้พัฒนากลายมาเป็น ศูนย์ฝึกอาชีพ สังกัดกองแรงงาน แต่ยังอยู่กับ กระทรวงมหาดไทย ที่เดิม
พ.ศ. 2508 ภาครัฐทำการยกระดับฐานะส่วนแรงงานให้กลายเป็นกรมแรงงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ คือ ช่วยจัดหางานให้แก่ประชาชน , คุ้มครองแรงงาน , ดูแลแรงงานสัมพันธ์ พร้อมการฝึกอาชีพ ปี พ.ศ. 2511 ได้มีการตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานควบคู่ไปกับกองพัฒนาอาชีพ
ปี พ.ศ. 2517-2534 มีการสร้างสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานอีก 8 แห่ง ได้แก่ ราชบุรี , ชลบุรี , ขอนแก่น , สงขลา , นครสวรรค์ , อุบลราชธานี , สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้มีจุดประสงค์ในการขยายบริการการฝึกอาชีพ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกภาคส่วนมากขึ้น ไม่ใช่แค่กรุงเทพแห่งเดียว
ปี พ. ศ. 2545 รัฐบาลไทย เริ่มการปฏิรูปการบริหารราชการแบบใหม่ เริ่มจากปรับโครงสร้างทั้งหมดให้ทุกฝ่ายเป็นไป ตามบทบาทและหน้าที่ เลยทำให้มีกระทรวงเพิ่มขึ้น จึงทำให้กระทรวงแรงงานกับสวัสดิการสังคม แบ่งออกเป็น 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กับ กระทรวงพัฒนาสังคม แต่อย่างไรก็ตาม กรมพัฒนาฝีมือแรงงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ก็ยังปฏิบัติภารกิจในด้านพัฒนาฝีมือแรงงานเหมือนเดิม
โดยศูนย์ฝึกอาชีพ ช่วยทำให้ประชาชนคนไทย ได้ไปร่ำเรียนวิชาความรู้ จนสามารถนำไปประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้หลักหรือรายได้เสริม เหมาะสำหรับคนไม่มีเงินทุนในการเรียน แต่มีใจรักในวิชาความรู้ต่อไปนี้ เช่น เย็บจักรอุตสาหกรรม , เทคนิคการแต่งหน้า , ปั้นอาหารจิ๋ว , คอมพิวเตอร์เบื้องต้น , ช่างซ่อมซ่อมโทรทัศน์ , ช่างซ่อมไฟฟ้า , ช่างติดตั้งจานรับสัญญานดาวเทียม และวิชาอื่นๆอีกมากมาย ทั้งหมดนี้คุณสามารถลงเรียนได้ฟรี ในศูนย์ฝึกอาชีพสาขาที่ใกล้บ้าน