ข้อควรรู้เรื่องกรมพัฒนาฝีมือแรงงานคืออะไร

จากอดีตจนถึงในปัจจุบันนั้นรัฐบาลต่างก็เล็งเห็นความสำคัญของการทำงานในด้านแรงงานมาตลอดโดยแรกเริ่มนั้นคือตั้งแต่มีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับด้านแรงงานซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการจัดหางานซึ่งมีทั้งของรัฐบาลและเอกชน ในปี 2475 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาซึ่งในปีนั้นยังคงเป็นสมัยที่หน่วยงานเหล่านี้อยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทยรัฐบาลในยุคต่อกันมาหรือในสมัยถัดมาก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของพระราชบัญญัติ รวมไปถึงพระราชกฤษฎีกาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับด้านแรงงาน เพื่อที่จะได้มีความทันเหตุการณ์และปรับตัวเข้ากับยุคสมัยต่างๆซึ่งในเวลาต่อมาก็มีการโอนแผนกในการจัดหางานให้แก่ผู้ที่ว่างงานให้เข้าไปอยู่ในสังกัดของกระทรวงเศรษฐการของกรมพาณิชย์เพราะว่าเป็นหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของเศรษฐกิจ

ต่อมาในปี พ.ศ.2484  รัฐบาลก็เริ่มมีความสนใจที่จะทำให้ประชาชนนั้นต่างมีอาชีพเพื่อให้ประชาชนได้มีความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้นกว่าเดิมจึงได้มีการโอนหน่วยงานนี้ไปให้แก่กรมประชาสงเคราะห์ของกระทรวงมหาดไทย อีกครั้ง ตลอดระยะเวลาในช่วงปี พ.ศ.2496 – 2505 มีการพัฒนาและปรับปรุงในด้านของแรงงานเรื่อยมา และเริ่มมีการให้ความสำคัญในด้านของการฝึกอาชีพต่างๆ โดยเริ่มแรกนั้นเริ่มจากในแผนกอาชีวศึกษาจนได้พัฒนามาเป็น ศูนย์ฝึกอาชีพ ในสังกัดของกองแรงงาน  จนในปี พ.ศ.2508 ได้มีการยกฐานะของส่วนงานด้านแรงงานนี้ให้ขึ้นมาเป็นกรมแรงงาน ซึ่งเป็นสังกัดหนึ่งของกระทรวงมหาดไทยซึ่งจะมีการดำเนินการในด้านของ การฝึกอาชีพต่างๆ การคุ้มครองแรงงาน การจัดหางาน และแรงงานสัมพันธ์ ในช่วงของปี พ.ศ. 2511 นั้น ได้มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติขึ้นมา โดยจะให้มีการปฏิบัติเพื่อควบคุมกันกับ กรมพัฒนาอาชีพ จน 5 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ.2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ ให้มีการเปลี่ยนแปลง กองพัฒนาอาชีพให้กลายมาเป็นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแทน ซึ่งได้มีการตัดคำว่าแห่งชาติออกไปนั้นเองและในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ.2517 – 2534 ก็ได้มีความใส่จากภาครัฐ เพื่อทำการขยายการจัดตั้งสถาบันในการพัฒนาฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้นมาอีก โดยมีถึง 8 แห่งด้วยกันนั่นคือในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี ราชบุรี นครสวรรค์ ชลบุรี ขอนแก่น ลำปางและ สงขลาและยังมีการจัดตั้งศูนย์แรงงานในระดับจังหวัดขึ้นด้วยอีก 2 จังหวัดด้วยกัน นั้นคือ จังหวัดชัยภูมิและปัตตานีเพื่อที่จะได้มีการเข้าถึงประชาชนได้มากยิ่งขึ้นในเรื่องของการพัฒนาอาชีพ

ในปี พ.ศ.2535 คณะรัฐมนตรีได้มีการลงความเห็นให้มีมติเพื่อทำการยุบส่วนราชการในส่วนของกรมแรงงานแต่ได้มีการจัดตั้งในส่วนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรวมไปถึงกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขึ้นมาแทนซึ่งยังคงอยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทยขึ้นมาแทน ต่อมาในปี พ.ศ.2536 รัฐบาลก็ได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้นรวมไปถึงได้มีการโอนกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้มาอยู่ในสังกัดของกระทรวงนี้แทน และก็ทำการจัดตั้งกรมจัดหางานขึ้น ซึ่งก็โอน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหางานในไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงงานควบคุมแรงงานต่างด้าวไปที่สังกัดของกรมจัดหางานแทน พ.ศ.2545 ได้เกิดการปฏิรูประบบราชการขึ้นมาใหม่โดยมีการปรับอำนาจทั้งหมดตามบทบาทหน้าที่ และภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งก็มีการแบ่งแยกกระทรวงและได้มีกระทรวงใหม่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 กระทรวง นั้นคือ กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  พ.ศ.2559  ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการในด้านของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานใหม่ตามที่มีการประกาศราชกิจจานุเบกษาตามกฎกระทรวงโดยมีการแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงานขึ้น ลงในวันที่ 22 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางขึ้นมาอีกมากมายด้วยกัน